หนังสือเรียนวิชาภาษาไทย ภาพวาดบนฝาผนังวัด ละครจักรๆ วงศ์ๆ
ยามเช้า คงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เราคุ้นเคยกับเรื่องราวของ ‘ป่าหิมพานต์’
ป่าซึ่งบรรจุสิ่งมีชีวิตลึกลับ ทั้งพืชพรรณ เหล่าเทพ
และสัตว์นานาชนิดที่รู้จักกันในนาม ‘สัตว์หิมพานต์’ สร้างสรรค์ขึ้นตามจินตนาการของกวีและจิตรกรไทยโบราณ
โดยอ้างอิงมาจากไตรภูมิ คัมภีร์ และชาดกต่างๆ ทางพุทธ
ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ - ฮินดู‘ป่าหิมพานต์ หรือ หิมวันต์’ ปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ที่ชื่อ ‘ไตรภูมิกถา หรือ
ไตรภูมิพระร่วง’ โดยพญาลิไทย กษัตร์ย์นักปราชญ์ผู้ครองเมืองศรีสัชนาลัย
ที่พระราชนิพนธ์จากคติความเชื่อแบบพุทธ ในเรื่องของนรก สวรรค์ และโลกมนุษย์
โดยไตรภูมิ ประกอบด้วย กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
ซึ่งสัตวโลกทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิด จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์นอกจากนี้ เชื่อว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่ในชมพูทวีป
บนเขาหิมาลายา หรือที่เราคุ้นหูว่า หิมาลัย ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า
สถานที่ที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ จึงมองรวมเป็น ‘เขาหิมพานต์’
ที่มีเนื้อที่ขนาดใหญ่กว่า 48,000 กิโลเมตร ประดับด้วยยอดเขา 84,000 ยอด บรรดาสัตว์หิมพานต์
จะมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว
มีรูปร่างวิจิตรพิสดารแปลกตาและชื่อเรียกที่แปลกหู โดยจำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) เช่น เหล่านกและนกผสม อสูรปักษา, อสุรวายุพักตร์, นกการเวก, ครุฑ, กินรี, เทพปักษี, นกทัณฑิมาหงส์, หงส์จีน, คชปักษา, มยุระคนธรรพ์, มยุระเวนไตย, สินธุปักษี, สีหสุบรรณ, สุบรรณเหรา, มังกรสกุณี, นาคปักษี, นาคปักษิณ, นกหัสดี, นกอินทรี, นกสัมพาที, กินนร, สกุณเหรา, นกเทศ, พยัคฆ์เวนไตย, นกสดายุ, เสือปีก, อรหัน
เหล่ามนุษย์ คนธรรพ์, มักกะลีผล สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) เช่น เหล่าสิงห์และสิงห์ผสม
บัณฑุราชสีห์, กาฬสีหะ, ไกรสรราชสีห์, ติณสีหะ, เกสรสิงหะ, เหมราช, คชสีห์, ไกรสรจำแลง, ไกรสรคาวี, เทพนรสีห์, ฑิชากรจตุบท, โต, ไกรสรนาคา, ไกรสรปักษา, โลโต, พยัคฆ์ไกรสร, สางแปรง, สิงหคาวี, สิงหคักคา, สิงหพานร, สกุณไกรสร, สิงโตจีน, สีหรามังกร, โตเทพสิงฆนัต, ทักทอ, นรสิงห์ เหล่าม้า
ดุรงค์ไกรสร, ดุรงค์ปักษิณ, เหมราอัสดร, ม้าปีก, งายไส, สินธพกุญชร, สินธพนที, โตเทพอัสดร, อัสดรเหรา, อัสดรวิหก
เหล่าช้าง เอราวัณ, กรินทร์ปักษา, วารีกุญชร, ช้างเผือก
เหล่ากิเลน กิเลนจีน, กิเลนไทย, กิเลนปีก
เหล่ากวาง มารีศ, พานรมฤค, อัปสรสีหะ
เหล่าจระเข้ กุมภีนิมิตร,
เหรา เหล่าลิง
กบิลปักษา, มัจฉาน
เหล่าวัวควาย มังกรวิหค, ทรพา, ทรพี แรด ระหมาด
สุนัข นาคจำพวกปลา เช่น เหมวาริน, กุญชรวารี, มัจฉนาคา, มัจฉวาฬ, นางเงือก, ปลาควาย, ปลาเสือ, ศฤงคมัสยา ปูพื้นที่ที่ไม่สิ้นสุดของการสร้างสรรค์ในป่าหิมพานต์แห่งนี้
จึงถือเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์สำคัญในศิลปะจากสัตว์ป่าของไทย ที่ปรากฏให้เห็นทั้งในรูปแบบจิตรกรรม
ประติมากรรม รวมถึงงานเขียนบทประพันธ์ต่างๆ
รวมทั้งยังมีอิทธิพลต่อสังคมชาวพุทธในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ด้วยความเชื่อที่ว่า การมุ่งมั่นทำความดีย่อมจะนำพาเราไปสู่ภพที่ดีอย่าง
‘ป่าหิมพานต์’ --------------------------------------------------ข้อมูล: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, https://thematter.com,
https://lifestyle.campus-star.com
รูป: หนังสือไตรภูมิกถา ฉบับรัชกาลที่ 9 อัปโหลดโดย Pattanasak Banchornsuwan