“โคลนนิ่ง เทรนด์ใหม่ของคนรักสัตว์เลี้ยง”
เคลลี แอนเดอร์สัน
นักฝึกน้องหมาวัย 32 ปี เคยมีน้องแมวแสนรักอยู่ตัวหนึ่งเป็นแมวเพศเมียชื่อว่า
‘ฉาย’ ในปี 2560
แมวของเธอเสียชีวิตอย่างกะทันหันเมื่ออายุได้ 5 ปี
สาเหตุเนื่องจากมันกลืนกระดาษห่อของเข้าไปแล้วตกค้างอยู่ในลำไส้ เกือบทันทีที่แมวของเธอตาย
แอนเดอร์สันก็จำได้ว่าเคยคุยกับเพื่อนร่วมห้องเช่าเกี่ยวกับบริษัทแห่งหนึ่งในรัฐเทกซัสชื่อว่า
‘ViaGen’ ที่รับ ‘โคลนนิ่ง’ สัตวเลี้ยง
เธอจึงรีบติดต่อไปในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่เจ้าฉายหรือแมวของเธอจากเธอไปแอนเดอร์สัน
จ่ายค่าบริการไป 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 850,000 บาท) และต้องรออีก 5 ปี เธอจึงได้แมวน้อยอายุ 6 เดือน
ที่หน้าตาเหมือนเจ้า ‘ฉาย’ แทบจะทุกอย่างมาเลี้ยงดู เธอตั้งชื่อให้แมวน้อยว่า
‘เบลล์’ มันมีตาสีฟ้าเข้มและขนสีขาวฟูนุ่มเหมือนเจ้าฉาย
และมีนิสัยบางอย่างคล้ายกัน เช่น ชอบขึ้นไปนอนเหยียดยาวบนหลังของแอนเดอร์สัน อย่างไรก็ตาม
แอนเดอร์สัน กล่าวว่า แมวทั้งสองตัวไม่ใช่จะเหมือนกันไปเสียทุกอย่าง แม้ว่าจะเป็นการโคลนนิ่งจากพันธุกรรมตั้งต้นชุดเดียวกัน
แต่แมวทั้งสองไม่ใช่ตัวเดียวกัน
และไม่มีความทรงจำหรือประสบการณ์ที่ถ่ายทอดสู่กันได้ อธิบายได้ง่ายๆ
ว่าเป็นการตั้งค่าโทรศัพท์มือถือให้กลับไปสู่การตั้งค่าจากโรงงาน
นั่นคืออุปกรณ์และเทคโนโลยีในเครื่องยังคงเป็นเหมือนเดิม แต่ข้อมูลต่างๆ
หรือเแอพพลิเคชั่นที่เราเคยใส่ไว้ในเวลาต่อมา ถูกลบทิ้งทั้งหมดบริษัท ViaGen ก่อตั้งขึ้นในปี 2545 รับโคลนนิ่งสัตว์หลายชนิด เช่น ม้า วัว หมู
ในตอนแรกเริ่ม และเพิ่งมารับโคลนสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมวในปี 2557 ปัจจุบัน บริษัท ViaGen คิดราคาการโคลนนิ่งสุนัขที่ตัวละ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.7
ล้านบาท) และแมวตัวละ 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.18 ล้านบาท)
นอกจากนี้ยังมีบริการรับเก็บเซลล์ของสัตว์เลี้ยงที่ตายไปแล้วและเจ้าของยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำโคลนนิ่งดีหรือไม่
ในราคา 1,600 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 54,400 บาท) โดยไม่มีการจำกัดเวลา
ทางบริษัทเคยทำการโคลนนิ่งสุนัข ซึ่งเจ้าของเก็บดีเอ็นเอของมันไว้เป็นเวลานานถึง
17 ปีบริษัทไม่ได้เปิดเผยจำนวนที่แน่ชัดของสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการโคลนนิ่งออกมา
โดยระบุเพียงว่าเป็น ‘หลักร้อย’
และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 25 ปีหลังจากการโคลนนิ่งสัตว์ตัวแรกในโลก
ซึ่งก็คือเจ้าแกะ ‘ดอลลี’
และถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการยินยอมให้ใช้เทคโนโลยีโคลนนิ่งในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว
แต่กระบวนการหรือขั้นตอนการใช้เทคโนโลยีก็ยังคงเป็นปัญหาในเชิงจริยธรรมกระบวนการโคลนนิ่งเริ่มจากการนำเซลล์จำนวนเล็กน้อยจากเนื้อเยื่อของสัตว์เลี้ยงมาใช้
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อเยื่อจากบริเวณใบหูหรือส่วนท้อง หลังจากนั้น
จะมีการนำเซลล์ไปแช่เอนไซม์บางตัวเพื่อสกัดเอา DNA ออกมา ขั้นตอนต่อไปคือการนำนิวเคลียสของไข่ที่ยังไม่ได้รับการผสมของสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในสายพันธุ์เดียวกันออกไป
แล้วใส่นิวเคลียสที่ได้จากเซลล์ของสัตว์เลี้ยงที่ต้องการโคลนนิ่งเข้าไปแทน
จากนั้นก็จะนำไข่ใบใหม่ที่มีดีเอ็นเอของสัตว์เลี้ยงที่ต้องการ
ไปแช่ในส่วนผสมที่เต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต้องมีในมดลูกของสัตว์
จนกระทั่งไข่กลายเป็นตัวอ่อนซึ่งพร้อมที่จะนำไปฝังในตัวสัตว์ที่เป็นเหมือน
‘แม่อุ้มบุญ’ถ้าหากไม่มีอะไรผิดพลาด
‘แม่อุ้มบุญ’ ก็จะเริ่มตั้งท้องสัตว์เลี้ยงที่ลูกค้าต้องการโคลนนิ่งปัญหาก็คือการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงไม่สามารถรับประกันผลสำเร็จได้
100% สัตว์ที่ตั้งท้องอาจเกิดอาการแท้ง หรือตัวอ่อนที่เพาะขึ้นมาอาจใช้การไม่ได้
ซึ่งหมายถึงการใช้สัตว์ที่เป็น ‘แม่อุ้มบุญ’
และสัตว์ที่ให้ไข่เพื่อเป็นที่อยู่ของตัวอ่อนเป็นจำนวนมากและเนื่องจากการโคลนนิ่งไม่ใช่กระบวนการธรรมชาติ
จึงอาจเกิดความผิดปกติกับตัวอ่อนได้ง่าย
ซึ่งนำไปสู่อาการแท้งหรือตายตั้งแต่แรกเกิด โดยสรุปก็คือ
การจะได้สัตว์โคลนนิ่งขึ้นมาสักตัวนั้น อาจจะต้องเสียสละชีวิตเป็นจำนวนมาก
เพื่อผลสำเร็จนอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังที่ต้องรู้ไว้
ซึ่งก็คือสัตว์ที่โคลนนิ่งออกมานั้นจะไม่ใช่สัตว์ตัวเดียวกับที่เราเคยเลี้ยง
มันไม่มีทางที่จะมีนิสัยเหมือนตัวเดิม จึงเกิดคำถามว่า หากไม่ได้ ตัวเดิมกลับมาแล้ว จะเป็นการดีกว่าไหม
ถ้าหากเราจะเลี้ยงสัตว์ตัวใหม่ไปเลย หรือไปรับสัตว์ที่จะต้องโดน ‘กำจัด’
จากศูนย์กักกันสัตว์เร่ร่อนมาเลี้ยงแทน
แหล่งที่มาข้อมูล
: Yahoo.com